วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือ สรรพคุณและงานวิจัย


ชื่อสมุนไพร เห็ดหลินจือ ( Lingzhi )
ชื่ออื่นๆ/ชื่อประจำถิ่น เห็ดหมื่นปี เห็ดอมตะ เห็ดจวักงู (ไทย) Holy mushroom (อังกฤษ) Reishi (ญี่ปุ่น)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ganoderma lucidum (Fr.) Karst




ถิ่นกำเนิด

เห็ดหลินจือ เป็นยาจีนที่ใช้กันมานานกว่า 2000 ปี เป็นของหายากที่มีคุณค่าสูง และได้ถูก บันทึกไว้ในคัมภีร์โบราณ เซินหลงเปิ่นฉ่าวจิง ซึ่งเป็นตำราเก่าแก่และมีคนนับถือมากที่สุด ได้กล่าวไว้ว่า เห็ดหลินจือใช้บำรุงร่างกาย เป็นอายุวัฒนะได้ดีเยี่ยมและสามารถรักษาโรคต่างๆได้ ปัจจุบันสามารถพบได้ในไทย ในประเทศไทยพบได้บนต้นไม้พวก คูณ ก้ามปู หางนกยูงฝรั่ง ยางนา ยางพารา ดอกเห็ดมักขึ้นกับตอไม้ที่ตายแล้ว บางทีเกาะอยู่กับรากไม้ หากยื่นออกมาจากโคนต้นไม้อาจจะไม่มีก้าน


ลักษณะทั่วเห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือ เป็นเชื้อราชนิดที่ขึ้นอยู่ตามต้นไม้ที่เน่าเปื่อย ผุพัง พบอยู่ทั่วไป ระดับความสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1000 เมตร อุณหภูมิระหว่าง 8 – 38 องศาเซลเซียส ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส เส้นใยและดอกยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้แต่ไม่เจริญเติบโต เมื่ออากาศเริ่มอุ่นขึ้นก็สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ เห็ดหลินจือมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามภาษาเรียก ประเทศจีนเรียกว่า หลิงชิง หรือหลินจือ สำหรับประเทศไทยเรียกว่า เห็ดกระด้าง เห็ดหั้งขอ เห็ดนางกวัก เห็ดแม่เบี้ยงูเห่า เห็ดจวักงู
แล้วยังแบ่งแยกไปตามชนิดของเห็ด ได้แก่
• ดอกสีเขียว เรียกว่า ชิงจือ มีรสชาติขมเล็กน้อย มักพบในบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็นใช้ในการรักษาโรคหัวใจ
• ดอกสีแดง เรียกว่า ฉื้อจือหรือต้นจืน มีรสขม ใช้เป็นยาแก้การแน่นหน้าอก เลือดตกค้าง บำรุงหัวใจ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้เรื้อรัง ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อม โรคเบาหวาน
• ดอกสีเหลือง เรียกว่า หวงจือหรือจีนจือ มีรสชาติหวานจืด มีสรรพคุณในการบำรุงประสาท บำรุงร่างกายระบบขับถ่ายให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
• ดอกสีขาว เรียกว่า ไป่จือหรือวีจือ มีรสชาติฉุน ขมเล็กน้อย มีสรรพคุณในการโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ปอด จมูก ทำให้หายใจคล่อง
• ดอกสีดำ เรียกว่า เฮจือหรือเสียนจือ มีรสชาติเค็มเล็กน้อยไม่ขม มีสรรพคุณในการขับน้ำตกค้างในร่างกาย บำรุงไต ขับปัสสาวะ
• ดอกสีม่วง เรียกว่า จื่อจือหรือสีซ๊อคโกแลต มีรสชาติขมเล็กน้อย มีสรรพคุณรักษาโรคไขข้ออักเสบ หูอักเสบ



การขยายพันธุ์เห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือ ขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะและมีความต้องการสภาพต่างๆ ในการเพาะการขยายพันธุ์ ดังนี้
1. ความต้องการธาตุอาหาร เห็ดหลินจือเป็นเห็ดที่ขึ้นบนไม้ผุ ในสภาพธรรมชาติ เมื่อทำการเพาะเลี้ยงใส่อาหารบางอย่างลงไปในอาหารด้วย เช่น คาร์บอน ไบโตรเจน ธาตุอาหาร ไวตามินที่ต้องการดังนี้
• คาร์บอน คาร์บอนรวมถึงน้ำตาล แป้ง ขี้เลื่อย เส้นใยและวัตถุกึ่งเส้นใย
• ไนโตรเจน รวมถึงกรดอะมิโน ยูเรีย แอมโมเนีย โปรตีน ก่อนใช้ละลายน้ำก่อน
• ธาตุอาหารรอง ต้องใส่ธาตุอาหารรองประมาณ 10 ชนิด ลงไปในอาหาร เช่น
โปรแตสเซียม โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ซัลเฟอร์และสังกะสีเป็นต้น
• ไวตามินต้องใส่ไวตามิน B1 , B2 และ B3
2. สภาพอุณหภูมิ อุณหภูมิที่ต้องการสำหรับการเติบโตของเส้นใย 20 องศา - 35 องศา โดยมีอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดอยู่ในช่วง 25 องศา – 28 องศา และอุณหภูมิที่ดีที่สุดคือ 28 องศา
3. ความต้องการความชื้นและความชื้นในบรรยากาศ เช่นเดียวกับเห็ดนางฟ้า นางรมและเห็ดหอม เห็ดหลินจือต้องการความชื้น และความชื้นในอากาศค่อนข้างจำเพาะในอาหารเลี้ยง จะต้องมีความชื้น 60 – 65% ในระยะที่มีการเจริญเติบโตของเส้นใยความชื้นในบรรยากาศจะต้องเป็น 60% ถ้ามากกว่า 60% จะทำให้เกิดการปนเปื้อนในถุงเลี้ยงในระยะที่ดอกเห็ดมีการเติบโต จะต้องการความชื้นสัมพันธ์ในบรรยากาศ 58 – 95% ถ้าต่ำกว่า 85% ดอกเห็ดจะโตช้าและต่ำกว่า 60% ดอกเห็ดจะไม่แตกดอกหรือตายไป
4. ความต้องการระบายอากาศเห็ดหลินจือต้องการออกซิเจนในปริมาณที่มากพอ
5. สภาพของแสงในระยะที่มีการเติบโตของเส้นใยจะไม่ต้องการแสง แต่ในระยะที่มีเติบโตของดอกเห็ด

องค์ประกอบทางเคมีของหลินจือ

• กลุ่ม polysaccharide ซึ่งมีผู้พบ polysaccharide A , B, C, D, E, G, H polysaccharide BN-3-A, B, C
• กลุ่ม triterpenoids ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เห็ดหลินจือมีรสขม มีผู้ศึกษาและพบสารกลุ่มนี้ประมาณ 100 ชนิด แต่ที่สำคัญและมีผู้พบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาได้แก่ ganoderic acid R&S, ganoderic K, ganoderic acid C, F, H, ganoderic acid A, B, ganoderic A, ganoderic A, B , oleic acid
• กลุ่ม peptidoglycan เป็นสารกลุ่มที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดที่สำคัญ คือ ganoderan A, B, C
• กลุ่ม protoalkalold กรดอะมิโน ได้แก่ adenosine, adenine, uracil, uridine
• กลุ่ม steroids ในกลุ่มนี้จะเป็นอนุพันธุ์กลุ่ม homolanosteroid carboxyacetyl quercinic acid
• โปรตีน
• สารอื่นๆ ได้แก่ cyclooctosulfur
• สารกลุ่มนิวคลีโอไทด์ (Nucleotides) ได้แก่ สารอะดิโนไซน์ Adenosine , สารกัวโนไซน์ Gauncsine
• สารเยอร์มาเนียม (Germanium)



โครงสร้างทางเคมีของเห็ดหลินจือแดง



Polysaccharides


Homopolysaccharide เป็น พอลิแซ็กคาไรค์ที่ในโมเลกุลเป็น monosacchaccharide ชนิดเดียวกันเชื่อมต่อกันดัวยพันธะไกลโคไซค์ (glycosidic bond) ได้แก่ สตาร์ซ (starch) ซึ่งประกอบด้วย อะไมโลส (amylose) อะไมโลเพกทิน (amylopectin) เซลลูโลส (cellulose) พืขสร้างพอลิแซ็กคาไรด์ได้จากกระบวการสังเคราะห์แสง สะสมเป็นแหล่งพลังงานในส่วนต่างๆ


สรรพคุณเห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือ ประกอบด้วยสารที่มีผลต่อการบำบัดโรคหลายชนิด แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ สารประเภทที่ละลายน้ำ 30% สารละลายอินทร์ 65% และสาระเหย 5% มีสาระสำคัญเช่น polysaccharide, triterpenoids, Germanium, Ganoderic, Essence รวมถึงวิตามินและแร่ธาตุ ซึ่งช่วยสร้างภูมิต้านทางโรค ต้านมะเร็ง บำรุงตับ บำรุงสมองและระบบประสาท ปรับสมดุลให้แก่ร่างกาย เหมาะสำหรับบำรุงร่างกายเนื่องจากมีความปลอดภัยสูง
โพลีแซคคาไรค์ (polysaccharide) เป็นสาระสำคัญในเห็ดหลินจือที่จะช่วยเสริมสร้างการทำงานของร่างกาย คือกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ต้านมะเร็ง ป้องกันการลุกลามของเซลล์มะเร็ง ช่วยปรับปรุงการทำงานของตับอ่อน ปรับระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยขจัดสารพิษ แต่เนื่องจาก polysaccharide มีโครงสร้างที่ซับซ้อนอาจจะทำให้ย่อยยากจึงควรรับประทานวิตามินซีหรืออาหารที่มีวิตามินซีสูง เพื่อช่วยในการดูดซึมสาร polysaccharide เข้าสู่ร่างกาย
เยอร์มาเนียม (Germaniuum) ในดอกเห็ดหลินจือมีเยอร์มาเนียมมากถึง 800 – 2000 ppm สารเยอร์มา – เนียมมีประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้
1. ออกซิเจนในเลือด 4. รักษามะเร็ง
2. กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย 5. ทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
3. สมอง บำรุงประสาท 6. กำจัดสารพิษ บำรุงตับ รักษาตับ
ไตรเทอร์ปีนอยด์ (Tritepenoids) มีประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้
1. ต้านมะเร็ง 4. ลดโคเลสเตอรอล ปรับไขมันในร่างกายให้ปกติ
2. ควบคุมระดับความดันโลหิตให้ปกติ 5. เสริมสร้างระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น
3. ควบคุมภูมิแพ้ 6. กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว
สารกาโนเดอริก (Ganoderic Essence) ช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือดและป้องกันการ
ตันของไขมันภายในเส้นเลือด


รูปแบบและขนาดวิธีใช้เห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือที่นำมาบริโภคจะให้ผลลัพธ์ดีที่สุด ก็ต่อเมื่อคนปกติทั่วไปใช้ดอกเห็ดหลินจืออบแห้ง ชงเป็นชา เพื่อดื่มเป็นประจำ ถ้าต้องการต้มเป็นยา ต้องดื่มให้หมดวันละ 1 - 3 เวลา และจะดื่มเวลาใดก็ได้ ถ้าจะนำมาดองเหล้า จะให้ดอกเห็ดหลินจือดองกับเหล้าขาวหรือเหล้าเหลือง ชนิด 40 ดีกรี ปริมาณ 100 – 150 ซีซี ทิ้งไว้ 15 วัน และค่อยนำมาดื่มครั้งละ 10 ซีซี หรือ ช้อนชา วันละ 1 – 3 เวลา ก่อนหรือหลังอาหารก็ไม่ต่างกัน นอกจากนั้น ยังมีผู้ผลิตเป็นแคปซูล โดยนำส่วนผสมของดอกเห็ด เส้นใย หรือราก และผงสปอร์ รวมอยู่ในเม็ด ซึ่งปริมาณขึ้นอยู่กับอายุของผู้ใช้ หากเป็นเด็ก ใช้ 1 – 2 แคปซูลก็เพียงพอแล้ว แต่สำหรับผู้ป่วย ควรใช้ ครั้งละ 3 แคปซูล วันละ 2 เวลา จะดีที่สุดอีกทั้งชนิดผงสปอร์บริสุทธิ์ ที่จะออกฤทธิ์มากกว่าแบบแคปซูล ก็จะนำมาผสมน้ำอุ่นในปริมาณ 1 กรัม หรือไม่เกิน 3 กรัม สำหรับผู้ป่วย และ ยังมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว อาจผสมในน้ำผึ้ง น้ำผลไม้ เครื่องดื่ม และอาหารคาวหวานได้ง่ายๆ


การศึกษาทางเภสัชวิทยาของเห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยามากมาย เช่น ฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน (10-13) ฤทธิ์ด้านเนื้องอกและมะเร็ง (10-14-16) ฤทธิ์ป้องกันเส้นประสาทเสื่อม (17-20) ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด (21-22) ฤทธิ์ลดไขมันในเลือด (23-24) ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน (25-27) ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti-inflammation) (28-29) เป็นต้น ซึ่งสาระสำคัญ คือ สารกลุ่ม polysaccharides (10,11,13) สารกลุ่ม triterpenoids (30-33) สารกลุ่ม sterols (34-36) สารกลุ่ม fatty acids (37) สารกลุ่มโปรตีน (38-41) เป็นต้น ซึ่งสาระสำคัญดังกล่าวจะพบได้ในส่วนสปอร์มากกว่าส่วนดอก (42) และสปอร์ที่กะเทาะผนังหุ้มมีฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิกันและต้านมะเร็งได้ดีกว่าสปอร์ที่ไม่กะเทาะผนังหุ้ม และส่วนดอก (43-45)


การศึกษาทางพิษวิทยาของเห็ดหลินจือ

การทดสอบทางพิษวิทยาของส่วนสกัดด้วยน้ำ และส่วนสัดที่เป็น polysaccharide ในหนูถีบจักร พบว่าค่อนข้างปลอดภัย ขนาดที่ให้ครั้งเดียวไม่ทำให้หนูตายสำหรับพิษกึ่งเฉียบพลันนั่น หนูถีบจักรป้อนด้วยส่วนสกัดด้วยน้ำขนาดวันละ 5 กรัม/กิโลกรัม เป็นเวลา 30 วัน ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว น้ำหนักอวัยวะต่างๆ และลักษณะต่างๆ ที่ตรวจได้ในเลือดไปจากหนูปกติ
การทดสอบทางคลินิกในเภสัชตำรับของจีน ให้กับคนไข้ที่เป็นโรคประสาทตื่นตัว นอนไม่หลับ ปวดข้อ อารมณ์ไม่แจ่มใส โดยทดลองกับคนไข้ 51 ราย ได้ผลดีมาก 26 ราย ดี 18 ราย ไม่ได้ผล 7 ราย สรุปว่าดีมาก 51% หรือ ได้ผลดี 86.3% ทำเป็นยาเม็ดให้ครั้งละ 3 เม็ด หรือทำเป็นผงให้ครั้งละ2 – 4 กรัม หรือใช้เห็ดหลินจือ แห้ง 10 กรัม ฝานให้เป็นชิ้นบางๆ ต้มกับน้ำ 2 ลิตร ต้มเคี่ยวจนเหลือ 1 ลิตร แล้วเอาชิ้นส่วนเห็ดออกแล้วต้นให้งวดเหลือครึ่งลิตร ดื่มตลอดวัน
มีการศึกษาเกี่ยวกับพิษวิทยาของเห็ดหลินจือทั้งพิษแบบเฉียบพลันและพิษแบบเรื้อรังพบว่ามีความเป็นพิษต่ำมาก และมีความปลอดภัยสำหรับการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน



ข้อแนะนำ ข้อควรระวัง

ในระยะแรก คนปกติก็อาจมีอาการท้องเสีย คอแห้ง หรือมีผื่นคัน แต่ก็มักจะหายได้เองภายใน 2 – 7 วัน แต่ถ้ายังมีอาการข้างเคียงดังกล่าวอยู่ แนะนำให้หยุดใช้ไปก่อนหนึ่งสัปดาห์ แล้วลองเริ่มต้นใหม่ ควรบริโภคเห็ดหลินจือแดงสกัดก่อนอาหารอย่างน้อย 1 – 2 ชั่วโมง แต่สำหรับคนที่เป็นโรคกระเพาะ ให้รับประทานหลังอาหาร 2 ชั่วโมงแทน เนื่องจากควรรับประทานขณะท้องว่าง เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ในการดูดซึมตัวยาจากเห็ดหลินจือ สำหรับผู้ที่ระบบกระเพาะย่อยยาก ควรรับประทานวิตามินซี หรืออาหารที่มีวิตามินซีสูงร่วมด้วย เพื่อช่วยในการดูดซึมตัวยาจากเห็ดหลินจือ ให้เข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น





เอกสารอ้างอิง

1. วันดี กฤษณะพันธ์ ดร.สมุนไพรน่ารู้ สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ 2 2539 : 228 – 230
2. งานวิจัยเรื่องเห็ดหลินจือ http://.www.dxnlanna.com/index.php?ge=research&pages=11062013180225
3. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยฮ่องไคร้ การเพาะเห็ดหลินจือ เข้าถึงได้โดย http://irrigation.rid.go.th/rid1/HongKhrai/linjuee.htm
4. ส่วนประกอบของเห็ดหลินจือ เข้าถึงได้โดย www.hlingzhi.com/55/
5. โครงสร้างทางเคมีของเห็ดหลินจือแดง เข้าถึงได้โดย http://www.trapa.co.th/nissan-reishi/red-reishi-chemicall-compound/
6. ศูนย์ข้อมูลเครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร เข้าถึงโดย (www.foodnetworksolution.com/wikilexpert/002/ ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมวงศ์)
(www.foodnetworksolution.com/wikilexpert/002/
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นิธิยา รัตนาปนนนท์)
7. สมศักดิ์ ชินกร หนังสือเห็ดหลินจือกับการรักษาโรค เข้าถึงโดยwww.tingzhibook.com/cnnbook/No.24.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น