สะค้าน สรรพคุณและงานวิจัย
บทนำ พืชสกุลพริกไทย (genus Piper) ชนิดที่เกิดในป่าหรือไม่ระบุชนิด มักมีชื่อเรียกทั่วไปว่า สะค้าน จะค้าน หรือตะค้าน ซึ่งมีการนำมาใช้ประโยชน์หลายประการ รับประทานเป็นผัก นำมาปรุงอาหาร ใช้เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน ปลูกเป็นไม้ประดับ และใช้ในพิธีกรรมต่างๆ
เครื่องยาที่เรียก “สะค้าน” นี้อาจได้จากเถาของพืชในสกุล Piper ( วงศ์ Piperaceae) หลายชนิด เช่น Piper interruptum Opiz ที่ทางพายัพเรียก “จะค้าน” ชนิด Piper ribesoides Wall. ทีเรียก “ตะค้านเล็ก” (ตราด) หรือ “ตะค้านหยวก” (นครราชสีมา) หลายชนิดพบในป่าทางพายัพ ชาวบ้านใช้ปรุงแต่งรสอาหาร ในที่นี้เราจึงจะนำเสนอ ชนิด Piper ribesoides Wall. ที่พบได้ทั่วไปและนิยมนำมาใช้เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน
ชื่อ สะค้าน
ชื่ออื่นๆ ตะค้านเล็ก , ตะค้านหยวก , จะค่าน , จั๊กค่าน , หนาม , มังเหาเจ๊าะ , ผู่แฮเหมาะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper ribesoides Wall.
วงศ์ Piperaceae
ถิ่นกำเนิด
สะค้านพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย ที่มีสภาพป่าดิบชื้น โดยพืชสกุลพริกไทยส่วนใหญ่แล้วมีแหล่งที่สำรวจพบอยู่ในเขตร้อนชื้น จากการสำรวจความหลากหลายในประเทศไทยจนถึงปัจจุบันซึ่งรวบรวมไว้ใน “หนังสือพืชสกุลพริกไทยในประเทศไทย” พืชสกุลพริกไทยในประเทศไทยทั้งสิ้น 42 ชนิด และอีก 1 ตัวอย่าง ที่ยังไม่สามารถระบุชนิดได้
ลักษณะทั่วไปสะค้าน
ไม้เถาเลื้อย ลำต้นอวบอ้วนขนาดใหญ่ ทุกส่วนเกลี้ยง รูปทรงและขนาดของใบพบได้หลากหลาย เนื้อใบเหนียวและหนามาก ใบบนลำต้นมีขนาดเล็กกว่ามาก ส่วนใหญ่แผ่นใบรูปสามเหลี่ยมแคบโดยเรียวไปทางปลายใบ หรือรูปไข่แคบ ฐานใบเว้าลึกพูมน สมมาตรหรือไม่สมมาตร ปลายใบแหลม ใบบนกิ่งแผ่นใบรูปรี ฐานใบเว้ารูปหัวใจ ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม แผ่นใบทั้งสองแบบขนาด 5-11.5 x 8-22 ซม. เส้นใบมีจำนวน 9 เส้น มี 3 คู่ออกจากฐานใบ เส้นอื่นๆ ออกจากเส้นกลางใบเหนือฐานใบ 2-3 ซม. ช่อดอกเพศผู้ห้อยลง ขนาด 0.1-0.2 x 5-8 ซม. ก้านช่อดอกยาว 0.5-0.8 ซม. ใบประดับมีก้าน เกสรเพศผู้ 4 อัน ช่อผลยาว 2-18 ซม. ผลกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3-0.6 ซม. เมื่อแก่มีสีเขียวแกมเหลือง เมื่อสุกมีสีแดง ก้านผลยาว 0.5-0.6 ซมชื่อพื้นเมือง : ตะค้านเล็ก ตะค้านหยวก
ภาพลายเส้น Piper ribesioides ใบบนลำต้น (ก) ใบบนกิ่งและช่อดอก (ข) ช่อดอกเพศผู้ เกสรเพศผู้และใบประดับ (ค) ใบบนกิ่งและช่อผล (ง)
การขยายพันธุ์สะค้าน
สะค้านเป็นพันธุ์ไม้ป่า ขึ้นได้ดีในดินร่วนซุย ระบายน้ำดี มีแสงรำไร ชอบเกาะตามต้นไม้ขนาดใหญ่ จึงไม้นิยม นำมาเพาะพันธุ์ เพราะมักจะตายง่าย แต่มีรายงานว่า เริ่มมีการพยายามนำมาขยายพันธุ์อีกครั้งโดยการเพาะเมล็ดองค์ประกอบทางเคมีสะค้าน
Piperine+)-3,7-dimethyl-3-hydroxy-4-( P-coumaryloxy)-1,6-octadiene, beta-sitosterol, lignans (-)-hinokinin and (-)-cubebin, methyl piperate, methyl 2 E,4 E,6 E-7-phenyl-2,4,6-heptatrienoate, N-isobutyl-2 E,4 E-dace-2,4-dienamide, palmitic acid, stearic acid
Beta-Sitosterol
piperine
Methyl piperate
สรรพคุณสะค้าน
เครือ ใช้ประกอบอาหารช่วยเพิ่มรสเผ็ด เช่นใส่แกงหน่อ แกงขนุน(ม้ง) เนื้อไม้ ซอยใส่ลาบ ใส่แกง(กะเหรี่ยงแดง) ลำต้น ใช้ใส่แกง ช่วยให้มีกลิ่นหอม(ขมุ) ลำต้น ใช้เป็นเครื่องเทศปรุงอาหารเพิ่มรสเผ็ด(เมี่ยน) ลำต้น ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหาร ช่วยดับกลิ่นคาว(ไทลื้อ) เครือแก่ สับเป็นแว่นเล็กๆ แล้วนำไปเป็นส่วนประกอบในอาหาร เช่น แกงปลี, ใบอ่อน นำไปแกงขนุน มีกลิ่นหอม(คนเมือง) แก้ลมอัมพฤกษ์ แก้ลมในทรวงอก ขับลมในทรวงอก ขับลมในลำไส้ บำรุงกำลัง แก้ไข้ แก้หืด แก้จุดเสียด รักษาธาตุ ใช้เป็นยาแก้ลมในกองเสมหะโลหิต (ใบ) ดอกมีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมอัมพฤกษ์ ลมปัตคาดที่เกิดจากพิษพรรดึก (ดอก) ผลมีรสร้อนเล็กน้อย ใช้เป็นยาแก้ลมแน่นในทรวงอก (ผล)สะค้านหรือเถาสะค้านเป็นเครื่องยาไทยชนิดหนึ่ง โบราณจัดไว้เป็นตัวยาประจำธาตุลม ตำราสรรพคุณยาโบราณว่าสะค้านมีรสเผ็ดร้อน แก้ลมอันบังเกิดในกองธาตุและกอง สมุฏฐาน ใช้ขับลมในลำไส้ แก้จุดเสียด แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุทำให้ผายเรอ เบื่ออาหาร มือเท้าเย็น ปากแห้ง คอแห้ง คลื่นเหียนอาเจียนจนถึงขั้นหายใจขัด เครื่องยานี้จัดอยู่ในพิกัดยาที่เรียกว่า “เบญจกูล” เป็นตัวยาในตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณหลายขนาน พบในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2549 2 ตำรับ ได้แก่ ยาหอมนวโกฐ และยาประสะกานพลู
รูปแบบ/ขนาดวิธีใช้สะค้าน
ขับลม , แก้จุกเสียดแน่น โดยใช้เถาสดความยาว 1 คืบ หรือประมาณ 50 – 70 กรัม ฝานเป็นแว่นตากแดดให้แห้ง นำมาต้มในน้ำประมาณ 500 ซีซี ประมาณ 10 – 15 นาที กรองเอาน้ำดื่มวันละ 2 3 เวลา ก่อนอาหารลำต้น ตากแห้งผสมกับ เปลือกลำต้นนางพญาเสือโคร่ง ลำ ต้นฮ่อสะพายควาย ม้ากระทืบโรง ตานเหลือง มะตันขอ ข้าวหลามดง หัวยาข้าวเย็น แก่นฝาง ไม้มะดูก และ โด่ไม่รู้ล้มต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อย(คนเมือง)
ยาตรีพิกัด ยาแคปซูล (รพ.)
สูตรตำรับ: ในผงยา 90 กรัม ประกอบด้วย
1. เนื้อลูกสมอไทย เนื้อลูกสมอพิเภก เนื้อลูกมะขามป้อม หนักสิ่งละ 10 กรัม
2. เหง้าขิงแห้ง พริกไทยล่อน ดอกดีปลี หนักสิ่งละ 10 กรัม
3. รากเจตมูลเพลิงแดง รากช้าพลู เถาสะค้าน หนักสิ่งละ 10 กรัม
ข้อบ่งใช้: ปรับสมดุลธาตุ
ขนาดและวิธีใช้:รับประทานครั้งละ 250 – 500 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
ยาเบญจกูล ยาแคปซูล ยาผง ยาเม็ด ยาลูกกลอน ยาแคปซูล (รพ.) ยาชง (รพ.) ยาเม็ด (รพ.)
สูตรตำรับ:ในผงยา 100 กรัม ประกอบด้วย ดอกดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิงแดง เหง้าขิงแห้ง หนักสิ่งละ 20 กรัม
ข้อบ่งใช้:บำรุงธาตุ แก้ธาตุให้ปกติ
ขนาดและวิธีใช้สะค้าน
• สะค้านชนิดชง รับประทานครั้งละ 1.5 – 2 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร• สะค้านชนิดผง รับประทานครั้งละ 800 มิลลิกรัม – 1 กรัม วันละ 3 เวลา หลังอาหาร
• สะค้านชนิดแคปซูล ชนิดเม็ด และชนิดลูกกลอน รับประทานครั้งละ 800 มิลลิกรัม – 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
ยาปลูกไฟธาตุ ยาแคปซูล (รพ.) ยาลูกกลอน (รพ.)
สูตรตำรับ: ในผงยา 100 กรัม ประกอบด้วย
1. พริกไทยล่อน หนัก 50 กรัม
2. ดอกดีปลี รากช้าพลู ผักแพวแดง (ทั้งต้น) เถาสะค้าน เหง้าขิงแห้ง ลูกผักชีล้อม เหง้าว่านน้ำ หัวแห้วหมู ผิวมะกรูด ลูกพิลังกาสา หนักสิ่งละ 5 กรัม
ข้อบ่งใช้:ปลูกไฟธาตุให้บริบูรณ์ ปรับระบบการย่อยอาหารให้ดีขึ้น
ขนาดและวิธีใช้:รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม – 1.5 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
ฤทธิ์ทางเภสัช ไม่พบข้อมูลการวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชของ Piper ribesoides Wall.
การศึกษาทางพิษวิทยา ไม่พบข้อมูลการวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชของ Piper ribesoides Wall.
ข้อแนะนำ/ข้อควรระวัง เนื่องจากสะค้านมีฤทธิ์เผ็ดร้อน จึงไม่ควรบริโภคหรือใช้เป็นสมุนไพรมากเกินไป
ข้อห้ามใช้: ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ห้ามใช้ในหญิงตกเลือดหลังคลอด ผู้ที่มีไข้ และเด็กเล็ก
ข้อควรระวัง
• ไม่ควรใช้ยานี้ในฤดูร้อน ส่งผลให้ไฟธาตุกำเริบ• ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytonin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจากตำรับนี้มีพริกไทยและดอกดีปลีในปริมาณสูง
• ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกิน 7 วัน
อาการไม่พึงประสงค์: แสบร้อนยอดอก
เอกสารอ้างอิง
1. อรุณรัตน์ ฉวีราช , รุ่งลาวัลย์ สุดมูล , ธวัตชัย ธานี , และ ปิยะ โมคมุล. 2552. พืชสกุลพริกไทยในประเทศไทย . ขอนแก่นการพิมพ์, ขอนแก่น.2. ชยันต์ พิเชียรสุนทร , แม้นมาส ชวลิต , วิเชียร จีรวงส์ , คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2542. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์และมูลนิธิภูมิปัญญา ; 2544.
3. นันทวัน บุณยะประภัศร. การตรวจสอบทางพฤกษเคมีเบื้องต้นของสารสกัดจากพืช.ใน: วีณา จิรัจฉริยากูล. ยาและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2534.
4. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. คัมภีร์เภสัชรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์;2545
5. สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา:2542.
6. ชยันต์ พิเชียรสุนทร , วิเชียร จีรวงส์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทย เล่ม 6 คณาเภสัช.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์ ; 2547
7. คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา. บัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ.2547. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2549.
8. ธวัตชัย ธานี , รุ่งสาวัลย์ สุดมูล , ชัยชนะ วิชัยดิษฐ์ , เยาวลักษณ์ สุวรรณคอ .รายงานการวิจัย ความหลากหลายของพืชสกุลพริกไทยในอุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี . กรกฎาคม 2558 . หน้า 31-32
9. ภคมน ธนทัศกิตติ , เสาวณี สาธรวิริยะพงศ์ , กรวิกา จาระพันธ์ , จินดา หวังบุญสกุล , ชยันต์ พิเชียรสุนทร .ข้อกำหนดมาตรฐานของสะค้าน.วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2553.หน้า 47-49
10. เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
11. เกรียงไกร เพาะเจริญ และคณะ, 2551. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ชุดที่ 1 บ้านปางโอ. บริษัท ทรีโอ แอดเวอร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย จำกัด, เชียงใหม่.
12. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ.(พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ).“ตะค้านเล็ก”.หน้า 113.
13. รายงานการวิจัยสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง.สถานีศึกษาการพัฒนาการจัดการอุทยานแห่งชาติทางบกจังหวัดสุราษฏร์ธานี ศูนย์ศึกษาและวิจัยอุทยานแห่งชาติทางบก สำนักอุทยาแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช พ.ศ.2554.หน้า53-54
14. ยาบำรุงธาตุปรับธาตุ.บัญชีหลักแห่งชาติ.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก
http://drug.fda.moph.go.th:81/nlem.in.th/medicine/herbal/list/643
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น