กระบองเพชร สรรพคุณและงานวิจัย
กระบองเพชร มีหลายชนิด พบในทะเลทรายและบางชนิดอยู่ตามป่าธรรมชาติ หรือสภาพแวดล้อมทั่วไป แต่ส่วนใหญ่จะพบตามทะเลทรายมากกว่า แต่มีเพียง 2 สายพันธ์ที่นิยมนำมาใช้สรรพคุณทางยา คือ
1. สายพันธ์ Hoodia Gordonii
2. สายพันธ์ Opuntia ficus – indica
แต่ที่มีผลงานการศึกษาค้นคว้าวิจัย ในปัจจุบัน คือ สายพันธ์ Hoodia Gordonii
ชื่อสมุนไพร กระบองเพชร (Hoodia gordonii)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hoodia gordonii
ชื่อชั้นทางวิทยาศาสตร์
• ตระกูล Gentinales
• วงค์ Apocynaceae
• วงค์ย่อย Asclepindoideae
• เผ่า Stapeliae
• สกุล Hoodia
• ชนิด H.gordonii
• ชื่อทวินาม Hoodia gordonii
ถิ่นกำเนิด
Hoodia gordonii ถูกค้นพบและวาดโดย พ.อ. โรเบิร์ตกอร์ดอนจาค็อบในบริเวณใกล้เคียงของแม่น้ำสีส้ม ประมาณ ค.ศ. 1779 และระบุว่าเป็นประเภทที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับ stapelia โดยแหล่งที่พบนั้นพบในทะเลทรายแถบแอฟริกาใต้ และนามีเบีย แต่พบมากในทะเลทราย Kalahari กล่าวกันว่าชนเผ่า San Bushman นำมาใช้เป็นพืชที่ใช้ในการเดินทางไกลไปในทะเลทรายหรือการล่าสัตว์เพื่อช่วย ให้ไม่รู้สึกหิว และนำมาใช้นับพันปีมาแล้ว นี่เองจึงทำให้วงการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจศึกษาเป็นพิเศษว่ามี ส่วนประกอบอะไรในกระบองเพชรนี้ที่มีผลต่อความรู้สึกอยากอาหาร
ลักษณะทั่วไปของกระบองเพชร
คล้ายต้นกระบองเพชรโดยทั่วไปและ เป็นพืชอวบน้ำ (succulent) ซึ่งเป็นลักษณะที่สำคัญของพืช ในบริเวณที่มีความแห้งแล้วกันดาร จึงมีการสะสมน้ำไว้ในส่วนของต้น ราก และใบ จัดอยู่ใน กลุ่มพืชใบเลี้ยงคู่Hoodia Gordonii
โครงสร้างของต้นกระบองเพชร
ส่วนใหญ่พบเจริญเติบโตในทะเลทรายที่มีสภาพภูมอากาศแห้งแล้ง ซึ่งมีวิธีในการพัฒนาตนเองเพื่อให้ดำรงชีวิตให้อยู่ได้ในสภาพที่โหดร้าย การนั้นก็คือ การพัฒนาเปลี่ยนแปลง โครงสร้างเพื่อให้เหมาะสมกับการอยู่รอด โดยการ• ลดรูปของใบเปลี่ยนเป็นหนาม เพื่อลดการคายน้ำ หนามยังสามารถที่จะช่วยในการพรางแสง ลดความร้อนและยังช่วยป้องกันการถูกทำลายโดยการดัดแทะจากสัตว์
• สร้างส่วนที่มีลักษณะคล้ายไข (Wax) ปกคลุมส่วนผิวของลำต้น มีจำนวนปากใบ (Stoma) บนลำต้นจำนวนน้อย และมีลำต้นเป็น รูปทรงกลมซึ่งมีพื้นที่ผิวน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับปริมาตร ทำให้มี การสูญเสียน้ำน้อยลง
• พัฒนาเนื้อเยื่อพิเศษในลำต้น มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ ทำหน้าที่ในการเก็บรักษาน้ำ
• มีระบบรากฝอยอยู่ตื้นๆ ใกล้กับผิวดิน ในเวลากลางคืนอากาศ เย็นลงไอหมอกจะลอยตัวต่ำลงและควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำที่ผิว ดิน ทำให้รากฝอยสามารถดูดซับความชุ่มชื้นจากอากาศและผิวดิน ไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว
• บางชนิดมีการพัฒนาระบบรากให้มีขนาดใหญ่ เพื่อใช้เก็บสะสมน้ำและอาหารบางชนิดที่มีความพิเศษ สามารถ หดตัวดึงเอาลำต้นให้มุดลงไปใต้ก้อนกรวดหรือใต้ผิวดิน ช่วยลด ความร้อนและช่วยลดการคายน้ำโดยเฉพาะในหน้าร้อน
การขยายพันธุ์กระบองเพชร
เนื่องจากกระบองเพชร Hoodia gordonii นั้น เป็นพืชที่มีถิ่นที่อยู่ในทวีปแอฟริกา จึงไม่นิยมนำมาปลูกในไทย เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย และข้อมูลการขยายพันธุ์และการดูแลรักษา นั้นยังไม่เป็นที่แพร่หลาย
องค์ประกอบทางเคมีของกระบองเพชร
พืชชนิดนี้ ให้สารอาหารประเภทเส้นใย (fiber) สารต้านอนุมูลอิสระ และ Sterol glycosides
P57 (glycoside) ที่มา : en.wikipedia.org/wiki
สรรพคุณ/ประโยชน์กระบองเพชร
ชาว San Bushman ก็ได้มีการบริโภคพืชนี้มานานนับพันปีมาแล้ว ทั้งในรูปสดและนำไปตากแดดจนแห้ง แต่พวกเขาจะไม่บริโภคส่วนที่เป็นดอกและราก ชาว San Bushman เล่าว่าพวกเขาจะพกกระบองเพชรนี้ไปด้วยถ้าต้องออกล่าสัตว์หรือเดินทางไกลใน ทะเลทรายเนื่องจากเป็นพืชที่ให้ปริมาณไฟเบอร์สูงมาก จึงมีส่วนสำคัญในการช่วย ควบคุมอาการอยากอาหาร (Appetite Control) และยังมีคุณสมบัติพิเศษ ที่จะเข้าไปจับกับโมเลกุลไขมันที่ลอยตัวอยู่เหนือกระเพาะอาหาร ทำให้ไขมันไม่สามารถดูดซับเข้าไปทางผนังลำไส้เล็กได้ และจะถูกกำจัดออกจากร่างกาย โดย การขับถ่าย นอกจากนี้ ยังช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ โดยมีกลไกที่ทำให้อาหาร ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ช้าลง จึงช่วยป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้
• ช่วยลดการดูดซึมไขมันเข้าสู่ร่างกาย
• ช่วยสลายไขมันเก่า
• ไฟเบอร์คุณภาพสูง
• กรดอะมิโน , บี3 , ไฟเบอร์ ช่วยลดโคเลสเตอรอล LDL , ไตรกลีเซอไรด์ ต่อต้านอนุมูลอิสระ
• อุดมด้วยวิตามิน ซี , เอ ลดระดับน้ำตาล
• ควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือด
• กรดอะมิโนที่จำเป็นลดการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่เซลล์
กลไกการทำงานของสารในกระบองเพชร
สาร Sterol glycoside นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสงสัยว่า เป็นสาร Sterol glycoside หรือไม่ที่มีผลลดความอยากอาหาร จึงตั้งสมมุติฐานไว้ว่า สาร Sterol glycoside นี้อาจส่งสัญญาณไปหลอกสมองส่วน Hypothalamus ว่าน้ำตาลในเลือดสูงพอแล้ว ไม่ต้องกินอะไรเพิ่มอีกแล้ว เพื่อสนับสนุนสมมุติฐานนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ทากรทดลองโดยน้ำสารสกัดจากกระบองเพชร Hoodia gordonii (ซึ่งสารสกัดนี้ผลิตโดยบริษัท Phytopharm PLC ตั้งชื่อรหัสสารสกัดว่า P57AS3) ฉีดใส่ในสมองของหนูทดลอง แล้วตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงในสมอง ที่สุดก็พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของระดับพลังงาน (ATP) ในสมองของส่วน Hypothalamus ถึง 150% นี่อาจเป็นสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกความเพียงพอในระดับพลังงานที่สมองต้องการ ขณะเดียวกันก็พบว่าหนูมีความต้องการอาหารลดลงถึง 60% จึงสรุปในเบื้องต้นว่า Sterol glycoside นี่แหละน่าจะเป็นสาระสำคัญที่ควบคุมความหิวได้
การศึกษาทางเภสัชวิทยาของกระบองเพชร
ผลการศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดของ Hoodia gordonii ต่อความอยากอาหารและการลดน้ำหนักในมนุษย์ยังมีความขัดแย้งกัน โดยพบการศึกษาที่มีการใช้สารสกัดจาก Hoodia gordonii ในมนุษย์จำนวน 2 การศึกษา• เป็นการศึกษาของบริษัท Phytopharm ในปี 2001 ซึ่งไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ แต่มีการรายงานว่า บริษัทได้ทำการศึกษาผลของสารสกัดจาก Hoodia gordonii ในอาสาสมัครที่มีภาวะอ้วน ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม (ไม่ระบุจำนวนในแต่ละกลุ่ม) โดยผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งได้รับยาหลอก ส่วนอีกกลุ่มได้รับสารสกัดจาก Hoodia gordonii หลังจากติดตามผู้เข้าร่วมการศึกษาเป็นระยะเวลา 15 วัน พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดลดปริมาณความต้องการพลังงานต่อวันลง 1000 แคลอรี่ มีค่าเฉลี่ยพลังงานต่อวันเป็น 2200 แคลอรี่ และไม่มีการรายงานถึงอาการข้างเรียง
• ต่อมาในปี 2011 มีการศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์ Blom และคณะได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารสกัดจากกระบองเพชรสายพันธ์ Hoodia gordonii ในผู้หญิงสุขภาพดีแต่มีภาวะน้ำหนักเกินโดยเป็นงานวิจัยเชิงทดลอง แบบสุ่ม และมีกลุ่มควบคุม หรือ Randomized controlled trial แบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกจำนวน 25 ราย ได้รับสารสกัดจาก Hoodia gordonii 1110 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง และอีกกลุ่มจำนวน 24 ราย ได้รับยาหลอก ติตามเป็นระยะเวลา 15 วัน หลังสิ้นสุดการศึกษาพบว่าความอยากอาหารและน้ำหนักระหว่าง 2 กลุ่มไม่ไดแต่ต่างกัน แต่กลุ่มที่ได้รับสารสกัด Hoodia gordonii พบอาการข้างเคียงมากกว่ากลุ่มยาหลอก โดยอาการข้างเคียงที่พบได้แก่ อาการคลื่นไส้อาเจียน มีความรู่สึกที่ผิดปกติบริเวณผิวหนัง ความดัน และอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น เอนไซม้ตับเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจากผลการทดลองดังกล่าว สรุปว่าสารสกัดกระบองเพชรสายพันธ์ Hoodia gordonii ไม่ได้มีผลอย่างมีนัยสำคัญ ต่อความต้องการพลังงานหรือน้ำหนักตัวเมื่อเทียบกับยาหลอก แต่ยังเพิ่มอาการข้างเคียงอย่างมีนัยสำคัญ
การศึกษาทางพิษวิทยาของกระบองเพชร
เมื่อเดือนตุลาคม 2011 ยังมีประกาศเตือนจาก US FDA องค์การอาหารและยาจากประเทศอเมริกาให้หยุดใช้ “P57 Hoodia” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สกัดจากกระบองเพชร สรรพคุณลดความอ้วนและผลิตโดยบริษัท Hulkng Pharmaceutical โดยตรวจพบสาร sibutramine ซึ่งเป็นสารที่มีอันตรายเนื่องจากมีผลเพิ่มความดันโลหิต เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และมีความเสี่ยงต่อผู้ป่วยที่มีประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ซึ่งจากการศึกษาในด้านประสิทธิภาพในการลดน้ำหนักของสารสกัดกระบองเพชรยังมีความขัดแย้งกันอยู่ข้อแนะนำ / ข้อควรระวัง
อาจมีข้อมูลไม่มากพอที่จะสรุปผลของสารสกัดกระบองเพชร Hoodia gordonii ส่วนอาการข้างเคียงที่พึ่งระวังได้แก่ อาการคลื่นไส้อาเจียน ความรู้สึกผิดปกติบริเวณผิวหนัง อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้น และเอนไซม์ตับเพิ่มขึ้นเอกสาร อ้างอิง
1. ตะบองเพชร.สมุนไพรดอทคอม(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.samunpri.com.22ตุลาคม2015
2. Hoodia Gordonii.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Hoodia_gordonii
3. Wendy AM Blom; Salomon L Abrahamse; Roberta Bradford; Guus SMJE Duchateau; Winfried Theis; Antonia Orsi; Caroline L Ward; David J Mela (2011). “Effects of 15-d repeated consumption of Hoodia gordonii purified extract on safety, an libitum energy intake, and body weight in healthy, overweight women: a randomizeg controlled trial”. American journal of Clinical Nutrition. doi:10.3945/ajcn.111.020321.
4. Harriet Hall (November 8, 2011). “Weighi Loss Customers Are Being Hoodia-Winked”. Science-Based Medicine.
5. ภก.ยุพดี วยุพงษ์.สารสกัดจากกระบองเพชร.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://glutacare.com
6. แนะนำเวฟไซต์ ลักษณะต้นกระบองเพชร,โครงสร้างต้นกระบองเพชร,อิทธิพลของกระบองเพชร.มหาวิทยาลัยนเรศวร.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://student.nu.ac.th/noichaona/cactus/aboutus.html.
7. กระบองเพชร.อาหารเสริมสุขภาพจากสมุนไพรใกล้ตัว.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก
http://www.greenclinic.in.th/healhherb/result_herb.php?herb_id=284&words=
8. ภก.ณัฐกานต์ ปลอดปล้อง.ตอบคำถามในกระดานถามตอบ ตอบปัญหาเรื่องโดยเภสัชกรหน่วยคลังข้อมูลยา. คลังข้อมูลยา มหาวิทยาลัยมหิดล.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.phavmacy.mahidol.ac.th/newspdf/dicqa/3406.pdf.
9. Biom WA, Abrahamse SL, Bradford R, Duchateau GS, Theis W, Orsi A et al. Effects of 15-d repeated consumption of Hoodia gordoniipurified extract on safety, ad libitum energy intake, ang body weight in healthy, overweight women: a randomized trial. Am J Clin Nutr. 2011: 94; 1171-81.
10. U.S.Food and Drug Administration [internet]. USA. Available from: http://www.fda.gov/ohrms/dockets/dockets/95s0316-95s-0316-rpt0238-04-Hoodia-Gordonii-Tahiliani-vol173.pdf/
11. U.S.Food and Drug Administration [internet]. USA. U.S. Departme of Health & Human services [updated 2013 May 8]. Available from: http://www.fga.gov/Drugs/ResourcesforYou/Consumers/BuyingUsingMedicineSafely/MedicationHealthFraud/ucm276074.himl/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น