วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ชะพลู

ชะพลู สรรพคุณและงานวิจัย


ชื่อ ชะพลู (ช้าพลู)
ชื่ออื่นๆ ผักปูนก (ลำปาง), ช้าพลู (ภาคกลาง) ชะพลูเถา เฌอภลู (สุรินทร์) ผักปูนา ผักปูลิง ผักปูริง ปูลิงนก ผักพลูนก ผักอีไร ผักอีเลิศ (ภาคอีสาน) พลูลิง (ภาคเหนือ) เย่เท้ย (แม่ฮ่องสอน) พลูนก ผักปูนก (พายัพ) พลูลิงนก (เชียงใหม่) นมวา (ใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper samentosum Roxb.
ชื่อวงศ์ PIPERACEAE







ถิ่นกำเนิด

ชะพลูมีถิ่นกำเนิดที่หมู่เกาะมาเลย์ และหมู่เกาะชวา ซึ่งเป็นหมู่เกาะที่ค้าขายเครื่องเทศในอดีต เมื่อมีการติดต่อซื้อขายเครื่องเทศ จึงแพร่กระจายสู่พื้นที่ใกล้เคียงต่างๆ ที่มีสภาพอากาศเอื้ออำนวย



ลักษณะทั่วไปชะพลู

ลำต้นชะพลู ลำต้นมีลักษณะตั่งตรง สูงประมาณ 30-50 ซม. สีเขียวเข้ม มีข้อเป็นปม แตกกอออกเป็นพุ่ม เติบโตได้ดีในพื้นที่ดินชุ่ม
ใบชะพลู ใบมีสีเขียวสดถึงเขียวแก่ ก้านใบยาว 1-3 ซม. ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว คล้ายรูปหัวใจ ใบกว้าง 5-10 เซนติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ผิวมันออกมัน แทงใบออก 2 ใบตรงข้ามกัน มีเส้นใบประมาณ 7 เส้น แทงออกจากฐานใบ
• ดอกชะพลู ดอกเป็นช่อ ทรงกระบอก ชูตั้งขึ้น ดอกอ่อนมีสีขาว เมื่อแก่จะออกสีเขียว รูปทรงกระบอก แทงดอกบริเวณปลายยอด และช่อใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1.5 ซม. ดอกเป็นดอกแยกเพศ
ผลชะพลู ผลเจริญบนช่อดอก มีลักษณะเป็นผลสีเขียว ผิวมัน มีลักษณะกลมเล็กฝังตัวในช่อดอกหลายเมล็ด มักออกดอกมากในฤดูฝน



การขยายพันธุ์ชะพลู

ชะพลูเป็นพืชที่เติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน ชอบดินร่วนซุย มีอินทรียวัตถุมาก และมีความชุ่มชื้น ชอบแสงรำไร จึงมักพบชะพลูโตดีในพื้นที่ชื้น มีร่มเงา โดยเฉพาะบริเวณใต้ร่มไม้ ชะพลูสามารถขยายพันธุ์ด้วยการแยกเหง้าหรือหน่อออกปลูก เหง้าที่แยกอาจเป็นต้นอ่อนหรือต้นแก่เพียง 2-3 ต้น ก็สามารถแตกกอใหญ่ได้
การให้น้ำ ควรให้น้ำสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในฤดูแล้งที่มักขาดแคลนน้ำ ส่วนในฤดูฝนต้นชะพลูสามารถเติบโตได้ดีเพียงอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ



องค์ประกอบทางเคมีของชะพลู

พบว่าชะพลูมีสาร ฟลาโวนอยด์ (flavonoids) และมีน้ำมันหอมระเหยที่ทำให้เกิดกลิ่นเผ็ดฉุน ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม Lignans และ Alkaloids และมีคุณค่าทางสารอาหารที่สำคัญ คือ มีแคลเซียมและสารเบต้า-แคโรทีนในปริมาณสูง นอกจากนี้ยังมีฟอสฟอรัส เหล็ก เส้นใย และสารคลอโรฟิล ใบมีสารออกซาเลต (oxalate) ค่อนข้างสูง ถ้าสะสมในร่างกายในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดนิ่วในไตได้และยังมีสารออกฤทธิ์ทางยา คือ aromatic alkene ,1 – allyl – 2 -methoxy – 4, 5 –methylenedioxybenzene, sitosterol, pyrrole amide, sarmentine, sarmentosine, pellitorine, (+) –sesamin, horsfieldin, two pyrrolidine amides 11 และ 12, guineensine, brachystamide B, sarmentamide A, B, และ C 1






Flavonoid


                                       


                                         


oxalate





Lignans  






alkaloids



สรรพคุณชะพลู

ด้านการใช้เป็นอาหาร ใบชะพลูมีรสหวาน เย็น และกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ จึงนิยมนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู บทบาทของชะพลูในจานอาหารครัวเรือนพื้นบ้านมีมากมาย เริ่มตั้งแต่เป็นผักสดที่นิยมกินกับอาหารรสแซบทั้งหลาย เช่น ลาบ ก้อย น้ำตก เนื้อย่าง ปลาย่าง ตลอดจนน้ำพริกต่างๆ ชะพลูเป็นเครื่องปรุงที่ขาดไม่ได้ในอาหารจานพื้นบ้านต่างๆ แกงแคของภาคเหนือซึ่งถึงกับเรียกใบชะพลูว่า”ใบผักแค” เลยทีเดียว หรือไม่ก็เป็นเพราะใช้ใบชะพลูเป็นเครื่องปรุงเฉพาะตัว จึงเรียกแกงนั้นว่าแกงแค เป็นไปได้อย่างเดียวกัน ส่วนภาคอีสารนิยมใส่ในแกงอ่อมต่างๆ แกงขนุนอ่อน แกงหัวปลี ภาคใต้ใช้แกงกะทิใบชะพลูกับหอยแครง ส่วนภาคกลางนิยมใส่แกงคั่วหอยขม นิยมนำมากินร่วมกับข้าวมันส้มตำ ชนิดที่เรียกว่าถ้าขาดใบชะพลู รสชาติของข้าวมันส้มตำก็อร่อยไปเลย รสชาติใบชะพลูขณะที่กัดและเคี้ยวกินจะมีกลิ่นหอมในปาก รสจัด เคี้ยวนานๆ จะได้รสเผ็ดอ่อนๆ ใบชะพลูขนาดกำลังอร่อยจะต้องเป็นใบที่ไม่อ่อนและไม่แก่จนเกินไป ใบจึงจะนุ่ม หอม และเผ็ดกำลังดี อย่างไรก็ตาม ใบชะพลูกินได้ทุกขนาดอายุของมัน แม้แก่มากก็กินได้ เพราะเส้นใยไม่ถึงกับเหนียวจนกัดไม่ขาด เพียงแต่ใบจะหยาบสักนิด และกลิ่นจะฉุดเล็กน้อย
ในใบชะพลูมีสารบีตา-แคโรทีนสูงมาก ใบนำมารับประทานกับเมี่ยงคำ นำมาแกงใส่กะทิ ข้าวยำ ห่อหมก หรือเป็นผักจิ้มน้ำพริก ทางภาคใต้ใส่ในแกงกะทิหอยขม แกงคั่วปูในจังหวัดจันทบุรีใส่ในแกงป่าปลา



• คุณค่าทางอาหาร (ในน้ำหนักแห้ง 100 กรัม)
– พลังงาน 101.00 กิโลแคลอรี่
– โปรตีน 5.40 กรัม
– ไขมัน 2.50 กรัม
– คาร์โบไฮเดรต 14.20 กรัม
– แคลเซียม 298.00 มิลลิกรัม
– ฟอสฟอรัส 30.00 มิลลิกรัม
– เหล็ก 4.63 กรัม
– วิตามินบี1 0.09 กรัม
– วิตามินบี2 0.23 กรัม
– ไนอาซีน 3.40 กรัม
– วิตามินซี 22.00 กรัม
– เบต้า แคโรทีน 414.45 ไมโครกรัม
– ใยอาหาร 6.90 กรัม
ด้านการใช้เป็นยาสมุนไพร ชะพลูเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยา ดอกทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้ รากขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง ต้นขับเสมหะในทรวงอก ใบมีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ใบ ต้น และดอกใช้ขับเสมหะ รากใช้ขับลม น้ำต้มทั้งต้นช่วยลดน้ำตาลในเลือดของกระต่ายที่เป็นเบาหวานได้





ประโยชน์ทางยาชะพลู

ใบชะพลู รสเผ็ดร้อน สามารถช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ ทำเสมหะให้งวด ทำให้เลือดลมซ่าน แก้ธาตุพิการ เบาหวาน ทำให้ระบบหมุนเวียนโลหิตดี
ดอก (ลูก) รสเผ็ดร้อน แก้ศอเสมหะ (เสมหะในลำคอ) ทำให้เสมหะแห้ง ช่วยย่อยอาหาร ขับลมในลำไส้
ราก รสเผ็ดร้อน แก้คูถเสมหะ ขับเสมหะให้ตกทางทวารหนัก บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง แก้เบาเหลือง ขัดเบา ปวดเอ็น
ต้น รสเผ็ดร้อน แก้เสมหะในทรวงอก ขับเสมหะ ทำให้เสมหะแห้ง แก้ปวดท้องแน่นจุกเสียด แก้ไข้ดีซ่าน ดีกระตุก บำรุงน้ำดี รักษาโรคบิด
ผล เป็นส่วนผสมของยารักษาโรค หืด แก้บิด ขับเสมหะ ย่อยอาหาร
จากการศึกษาวิจัยพบว่าชะพลูมีฤทธิ์ด้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ต้านเชื้อจุลชิพ ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก ปัจจุบันได้มีการพัฒนาสมุนไพรรักษาเบาหวาน



รูปแบบ/ขนาดวิธีใช้ วิธีใช้ชะพลูตามภูมิปัญญาไทย


• แก้เบาหวาน เอาต้นชะพลู ทั้ง 5 (เอาทั้งต้นตลอกถึงราก) มา 1 กำมือ พับเป็น 3 ทบใช้ ตอกไม้ไผ่มัดเป็น 3 เปราะ ใส่หม้อดินต้มกับน้ำ 3 ขัน เคี่ยวเหลือ 1 ขัน รับประทานครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร ได้ผลชะงัดหรือจะเอาใบชะพลูทั้งต้นและใบ 9 ต้น ล้างน้ำให้สะอาด ใส่ในภาชนะพร้อมด้วยน้ำ 2 ถ้วยแก้ว ต้มเคี่ยวให้เหลือครึ่งถ้วยแก้ว รับประทานให้หมดก่อนอาหารเย็น โดยรับประทาน 15 วันต่อครั้ง เมื่อรับประทานไปได้ 2 ครั้ง ภายใน 30 วันแล้ว ลองไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์กรวดน้ำปัสสาวะ หากปกติให้หยุด ถ้ายังมีน้ำตาลในปัสสาวะให้ต้มรับประทานต่อ
• ยาแก้โรคถ่ายปัสสาวะบ่อยๆ เอาเปลือกหอยแครง 7 ฝา (เผาไฟให้เป็นขี้เถ้า) กับต้นชะพลูทั้ง 5 นำมาย่างไฟให้กรอบ ตำผสม กันให้ละเอียด ใช้ชงกับน้ำร้อน รับประทานต่างน้ำชามีสรรพคุณแก้โรคถ่ายปัสสาวะบ่อยๆได้ผลชะงัด
• แก้ขัดเบา เอาต้นแจงทั้ง 5 หนัก 3 ตำลึง ชะพลู หนัก 3 ตำลึง แก่น ไม้สัก 3 ตำลึง ตัวยาทั้ง3 นี้ ใส่หม้อดิน กับน้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยว ให้เหลือ 1 ส่วน ใช้น้ำยารับประทาน เช้า-เย็น แก้ขัดเบาได้ผลชะงัก
• เจริญอาหาร บำรุงธาตุ ขับเสมหะ นำใบชะพลูมาจิ้มน้ำพริก หรือกะปิหลน น้ำพริกปลาป่น หรือจะนำใบชะพลูมาทำเมี่ยงคำ ทานวันละ อย่างน้อย ๗ ใบ ทุกวัน จะทำให้ธาตุปกติ เจริญอาหาร ขับเสมหะได้ดี
• แก้โรคเส้นเลือดในร่างกายแข็ง ซึ่งโรคดัง 18 กล่าวมีคนเป็นกันมาก เมื่อเป็นแล้วทำให้เลือดที่จะไปหล่อเลี้ยงหัวใจและสมองมีปัญหา ก่อให้ เกิดอาการเส้นโลหิตแตกหรือหัก เสียชีวิตได้ โดยเอา "ชะพลู" ทั้งต้นรวมราก จำนวน 3 ต้น ต้มกับน้ำ 1 ลิตร ตักดื่มครั้งละครึ่งแก้ว เช้าเย็น ดื่มจนตัวยาจืดแล้วเปลี่ยนยาใหม่ ดื่มให้ครบ 15 วัน จึงหยุด จากนั้นไปให้แพทย์ตรวจดู จะพบว่าอาการที่เป็นจะหายไป โดยไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ
• แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลม ใช้ราก 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 1/2 ถ้วยแก้ว รับประประทานครั้งละ 1/2 ถ้วยแก้ว
• แก้บิด ใช้รากครึ่งกำมือ ผล 2-3 หยิบมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/4 ถ้วยแก้ว



ฤทธิ์ทางเภสัชของชะพลู

ในภาคใต้ของประเทศไทยได้มีการนำสารสกัดน้ำของต้นชะพลูมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งพบว่าถ้าให้น้ำสกัดหยาบของต้นชะพลูกับผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ นอกจากนี้ จากผลการวิจัยพบว่าสารสกัดน้ำจากต้นชะพลู ในขนาด 0.125 ก./กก. ป้อนวันละ 1 ครั้ง นาน 7 วัน สามารถลดน้ำตาลในเลือดของหนูเบาหวานได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
การศึกษาผลของสารสกัดจากใบชะพลูต่อฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลกลูโคส ในเลือดในหนูเมาส์เบาหวานเพศผู้ สายพันธ์ ICR อายุ 6-7 สัปดาห์ น้ำหนักตัว 30-40 กรัม ที่ถูกชักนำให้เกิดเบาหวานด้วยสารสเตรปโตโซโทซิน พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดใบชะพลูขนาด 60 และ 100 มก./100 กรัม น้ำหนักตัว เป็นเวลา 21 วัน มีระดับกลูโคสในเลือดลดลง คิดเป็นประสิทธิภาพฤทธิ์ลดน้ำตาลร้อยละ 8.11 และ 171.46 ของยาไกลเบนคลาไมค์ ขนาด 1 มก./100 กรัมน้ำหนักตัว สอดคล้องกับผลเพิ่มระดับฮอร์โมนอินซูลินร้อนละ 8.25 และ 50.53 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับกลุ่มเบาหวานควบคุม นอกจากนั้นผลการตรวจสอบจุลกายวิภาคของตับอ่อนพบว่ามีการฟื้นฟูกลุ่มเซลล์ในไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ ของกลุ่มที่ได้รับสารสกัดใบชะพลูขนาด 100 มก./100 กรัมน้ำหนักตัว
สรุปได้ว่าสารสกัดใบชะพลูมีฤทธิ์ลำน้าตาลในเลือดโดยมีผลเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน และฟื้นฟูเซลล์ในไอส์เลตของหนูเบาหวาน สาร 1 – allyl – 2, 6 – dimethoxy – 3, 4 – methylenedioxybenzene จากชะพลูมีฤทธิ์ต้านเชื้อ Escherichia coli และ Bacillus subtilis และสาร sitosterol สามารถสามารถออกฤทธิ์ต้านการเกิดเนื้องอกได้



การศึกษาทางพิษวิทยาของชะพลู

จากการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดชะพลูในหนูขาวและหนูถีบจักรพบว่ามีค่า LD₅₀ มากกว่า 5 ก./กก. และจากการศึกษาความเป็นพิษแบบเรื้อรังของสารสกัดชะพลู โดยการป้อนสารสกัดชะพลูขนาด 0.5,1 และ 2 ก./กก. ในหนูขาวทั้งเพศผู้ชะพลูว่า มีค่า total bilirubin , total protein , creatinine และ BUN สูงกว่ากลุ่มควบคุม ส่วนในหนูเพศผู้พบว่ากลุ่มที่ป้อนสารสกัดชะพลูในขนาด 1 และ 2 ก./กก. มีค่า glucose ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม และกลุ่มที่ป้อนสารสกัดชะพลูในขนาด 2 ก./กก. มีค่า AST สูงกว่ากลุ่มควบคุม แต่จากการตรวจพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อของตับและไต ทั้งในหนูขาวเพศผู้และเพศเมีย
แสดงว่าสารสกัดชะพลูไม่มีผลทำลายตับและไตในหนูขาวทั้ง 2 เพศ แต่พบการเกิด hyper plasia ของ islet of Langerhann ในหนูเพศผู้ 1 ตัว จาก 6 ตัวที่ได้รับสารสกัดชะพลูในขนาด 0.5 ก./กก. และพบการเกิดเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง (adenoma) ที่ตับอ่อนในหนูเพศเมีย 1 ตัว จาก 6 ตัวที่ รับสารสกัดชะพลูในขนาด 2 ก./กก



ข้อแนะนำ/ข้อควรระวัง

ไม่ควรรับประทานใบชะพลูมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดอาการเวียนศรีษะ และทำให้มีการสะสมของสารออกซาเลท (Oxalate) ในร่างกายสูง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคนิ่วในไต เวลารับประทานควรปรุงร่วมกับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ จะช่วยให้ย่อยง่ายขึ้นในการใช้รักษาโรคเบาหวานจะต้องคอยตรวจน้ำตาลในปัสสาวะก่อนและหลังดื่มน้ำทุกครั้ง เพราะยานี้ทำให้น้ำตาลลดลงเร็วมาก และในการต้มจะต้องเปลี่ยนต้นชะพลูใหม่ทุกวัน





เอกสารอ้างอิง

1. ชะพลู สรรพคุณ และประโยชน์ชะพลู พืชเกษตร.ดอทคอม เว็บเพื่อพืชเกษตรไทย. (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://puechkaset.com
2. นัชฏาภรณ์ สอรักษา.อำพง เหลืองภิรมย์. ผลของสารสกัดจากใบชะพลูต่อฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ระดับฮอร์โมนอินซูสิน และจุลกาย วิภาคไอส์เลตในตับอ่อนของหนูเบาหวาน.รวมบทคัดย่อการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 15.หน้า 752-759
3. Amran, A.A., Zakaria, Z., Othman, F., Das, S., Raj, S.and Nor, A. M. 2010. Aqueous extract of Piper sarmentosum decreases atherosclerotic lesions in high cholesterolemic experimental rabbits. Lipids in health and disease. 9: 1-44.
4. สุธานันท์ นาคปรนม.ประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบ จากสมุนไพรบางชนิดในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Colletotrichum gloeosporiodes และ Sclerotium rolfsii เชื้อราสาเหตุโรคพืช.ปัญหาพิเศษปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
5. ลั่นทม ดอนจอมทรง.ผักพื้นบ้าน(ภาคใต้)ทางเลือกในการผลิตและบริโภค.จัดพิมพ์โดยองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ,2537.กรุงเทพ
6. เมฆานี จงบุญเจือ และสมพิศ คลี่ขยาย. อาหารปักษ์ใต้ บ้าบ๋า ย่าหยาในอันดามัน. กทม. เศรษฐศิลป์ 2556
7. แกงป่า-ผัดเผ็ด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. แสงแดด. 2550
8. อาหารจากสมุนไพร อร่อย สุขภาพดี. กทม. แม่บ้าน. มปป. หน้า 64 – 65
9. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
10. สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
11. ปรานอม ภูชฎาภิรมย์ ,ปัญญา เต็มเจริญ, สุรพล คงทิม ,ลักขณา หิมะคุณ ,ยุวดี วงษ์กระจ่าง ,เพ็ญโฉม พึ่งวิชา , รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล .ผลของสารสกัดช้าพลู (Piper sarmentosum) ที่มีต่อความเสียหายของโครโมโซมของเซลล์ไขกระดูกของหนูขาว ทดสอบโดยวิธีดูไมโครนิวเคลียส . วารสารสมุนไพร ปีที่ 11 (1) มิ.ย.2547 . หน้า 11 – 18.
12. Han G, Ma Y, Li C. The studies of natural PAF antagonistic neolignans from Piper genus and their structure-activity relationships. Beijing Yike Daxue Xuebo 1992;
24:347-50.
13. Apisariyakul A. Anantasarn V. A pharmacological study of the Thai medicinal plants used as cathartics and antispasmodics. In: Proceedings of the 10th Conference of Science and Technology of Thailand, Chiangmai, 1984: 452- 453.
14. Pongmarutai M. Study on antidiabetic action of Piper rostratum. In: Research Abstracts and Text Books 1969-1989, Prince of Songkhla University, Thailand, 1989: K 15.
15. Peungvicha P, Thirawarapan SS, Temsiririrkkul R, Watanabe H, Prasain JK, Kadota S. Hypoglycemic effect of the water extract of Piper sarmentosum in rats. J Ethanophamacol 1998; 60:27-32.
16. รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล และคณะ.การศึกษาพิษเฉียบพลันและพิษแบบเรื้อรังของสารสกัดช้าพลู.รายงานสภาวิจัย แห่งชาติ 2545.
17. ชะพลู(ช้าพลู).กลุ่มยารักษาเบาหวาน.สมุนไพร 200 ชนิด.โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น