วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ชาเขียว

ชาเขียว ประโยชน์และงานวิจัย



ชื่อสมุนไพร ชาเขียว
ชื่อสามัญ ชา , ชาเขียว , ชาดำ , Green tea , Black Tea , Chinese Tea
ชื่อวิทยาศาสตร์ Camellia sinensis






ถิ่นกำเนิด

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ชาเขียวนั้น ก็คือ ชา ชนิดเดียวกับ ชาอู่หลง , ชาดำ , ชาผง แต่ที่แบ่งชนิดของชาต่างๆออกมานั้นเพราะแบ่งตามกรรมวิธีในการผลิต ถิ่นกำเนิดดั้งเดิม ของชาอยู่ในทวีปเอเชีย บนเขตที่ราบ สูงบริเวณรอยต่อระหว่างพม่า อินเดีย และจีน ดังนั้นแหล่งผลิตและส่งออก ชารายใหญ่ที่สำคัญของโลกคือ ประเทศจีน อินเดีย และรัฐอัสสัม ซึ่งนอก จาก ๓ แห่งนี้แล้ว ก็ยังมีการผลิตชาในอีกหลายประเทศ อาทิเช่น อินโดนีเซีย (ที่เกาะชวา) รัสเซีย เคนยา ยูกันดา พม่า และไทย เป็นต้น แต่ชาเหล่านั้นมีคุณภาพสู้ชาจีน ชาดาร์จิลิ่ง ชาอัสสัม และชาซีลอนไม่ได้ส่วนประเทศญี่ปุ่นแม้จะผลิต ชาเขียวที่มีคุณภาพและรสชาติดี เป็น ที่รู้จักและนิยมดื่มกันอย่างแพร่หลาย แต่ก็ส่งออกขายน้อย เพราะประชาชน ภายในประเทศนิยมดื่มชาเขียวกันมาก
การดื่มชามีมานานเกือบ 5,000 ปีมาแล้ว ตามตำนานของชาวจีนกล่าวว่า การดื่มชาเกิดขึ้นจากการสังเกตุเห็นโดยบังเอิญของจักรพรรดิเฉินหนุง ซึ่งพระองค์ชอบดื่มน้ำต้ม โดยบ่ายวันหนึ่งขณะที่พระองค์ต้มน้ำดื่มอยู่นั้น เผอิญมีใบไม้จากต้นไม้ใกล้ๆปลิวตกในหม้อน้ำ ซึ่งท่านสังเกตุว่า น้ำต้มที่มีใบไม้นั้นมีกลิ่นหอมและมีรสชาติดี ดื่มแล้วรู้สึกกระปรี้กระเปร่า จึงได้มีการศึกษาต่อไปพบว่ามีคุณสมบัติทางยา จึงได้มีการเผยแพร่ต่อไป คนจีนจึงรู้จักชา ครั้งแรกในรูปแบบของสมุนไพร และจักรพรรดิเฉินหนุงก็ได้รับยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งการแพทย์”



ลักษณะทั่วไปชาเขียว

ต้นชาเขียวเป็นพืชที่มีลักษณะเป็นพุ่ม ใบเขียว และหากปล่อยให้เจริญเติบโตเองในป่าจะให้ดอกสีขาวส่งกลิ่นหอมในฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งเมื่อดอกชาเติบโตเต็มที่จะให้ผลชาที่ภายในมีเมล็ดเล็กๆ ตั้งแต่หนึ่งถึงสามเมล็ด ส่วนในการแพร่พันธุ์ ต้นชาจะต้องได้รับการผสมละอองเกสรกับต้นชาต้นอื่นๆ เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนยีน (gene) และโครโมโซม (chromosome) ซึ่งกันและกัน เมื่อชาต้นใหม่เจริญเติบโตจะคงคุณลักษณะที่เข้มแข็งบางส่วนของพ่อแม่พันธุ์ และด้วยวิธีการนี้ ต้นชาจึงเป็นพืชที่มีคุณลักษณะเด่นเฉพาะตัว
ต้นชาเป็นไม้ยืนต้นที่สูงได้ถึง 10 เมตร แต่ชาวไร่ชานิยมตัดแต่งให้เป็นพุ่มเตี้ย เพื่อความสะดวกในการเก็บยอดอ่อน ชาได้ชื่อว่าเป็นพืชที่อ่อนไหวต่อสิ่งแวดล้อมที่สุด อากาศ ที่ชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสมเป็นเงื่อนไขพื้นฐานของการเพาะปลูกชาเขียวให้ได้ผล แต่รู้ไหมว่าความแตกต่างใน เรื่องนี้แม้เพียงเล็กน้อย ก็ส่งผลต่อรสชาติของใบชาที่เก็บเกี่ยวแม้จะเป็น ใบชาจากต้นเดียวกันก็ตาม หากเก็บต่างฤดูต่างเวลา หรือขนาดเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน ก็ให้รสชาติที่แตกต่างกันได้
ชาที่มีขายอยู่มากมายในท้อง ตลาดนั้น แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ใหญ่ๆ ตามกรรมวิธีการผลิต จึงได้ชาที่มีกลิ่น รส และสีสันที่ต่างกัน ดังนี้คือ
1. ชาเขียว (green tea) คือยอดอ่อนของชาที่ถูกนำไปอบ (หรือคั่ว) แห้งทันที โดยไม่มีการนวดหรือ หมักเลย จึงทำให้ใบชายังคงสีเขียวเอาไว้ได้ เพราะฉะนั้น ชาเขียวจึงให้รสชาติใกล้เคียงใบชาธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งชาวจีนและชาวญี่ปุ่นจะนิยม ดื่มชาเขียวกันมาก
2. ชาดำ (black tea) คือยอดอ่อนของชาที่ถูกนำมานวดอย่างเต็มที่ แล้วหมักจนได้กลิ่นหอมซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ จากนั้นจึงนำมาทำให้แห้งด้วยการอบ ทำให้ใบชาที่ได้มีสีเข้มและมีรสขมปนฝาดมากขึ้น เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีของสารแทนนินในใบชา ชาที่ฝรั่งส่วนใหญ่ดื่มก็คือชาดำ ซึ่งมีหลายชนิด และที่คนทั่วไปรู้จักกันดีก็คือ ชาอัสสัม ชาซีลอน และชาดาร์จิริ่ง
3. ชาแดงหรือชาอูหลง (red tea or Oolong) คือยอดอ่อนของชาที่ถูกนำมานวดพอให้ผิวนอกช้ำ เพื่อกระตุ้นสารแทนนิน จากนั้นจึงอบให้แห้ง เพื่อหยุดยั้งปฏิกิริยาทางเคมี ดังนั้น สีและรสของชาแดงจึงอยู่กึ่งกลางระหว่างชาดำกับชาเขียว เหมาะสำหรับดื่มเปล่าๆ ต่างน้ำ (ไม่ใส่นม)



การขยายพันธุ์ชาเขียว

อนึ่ง ต้นชาก็เหมือนพืชในกลุ่มอื่นๆ ตรงที่แต่ละต้นสามารถให้ใบชาที่มีคุณภาพมากกว่าอีกต้นหนึ่งเป็นสองเท่า แม้จะเจริญเติบโตในบริเวณเดียวกัน และมีลักษณะภายนอกเหมือนกันทุกประการก็ตาม อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เพาะปลูกชาไม่ต้องการเพาะปลูกแบบปล่อยตามธรรมชาติหากแต่ต้องการคงสภาพยีนดั้งเดิม ดังนั้น ผู้เพาะปลูกจึงมักคัดเมล็ดจากต้นที่มีคุณสมบัติเข้มแข็งที่สุดเพื่อนำมาปลูกใหม่ หรืออาจใช้วิธีโคลน (clone) โดยกระบวนการที่เรียกว่าต่อกิ่ง ซึ่งเมื่อรากของส่วนที่ต่อกิ่งงอมมาอย่างสมบูรณ์ รวมไปถึงสามารถเพาะปลูกเพื่อเพิ่มปริมาณได้เรื่อยๆ
ในป่า ต้นชาสามารถเจริญเติบโตได้สูงตั้งแต่ 15 – 30 ฟุต ภายในวงล้อมของชาต้นเล็กๆ แต่ในการเพาะปลูก เกษตรกรมักรักษาระดับความสูงของต้นชาให้อยู่ในระดับความสูงประมาณ 3 – 5 ฟุต เพื่อความสะดวกในการเก็บเกี่ยวใบชาอ่อน นอกจากนี้การปล่อยให้ต้นชาเจริญเติบโตสูงเกินไป ใบอ่อนๆ ของต้นชาจะได้รับความเสียหายจากแสงแดดได้ง่ายซึ่งทำให้ใบอ่อนไหม้เกรียม และด้วยเหตุผลข้อนี้เกษตรกรจึงมักเลือกสถานที่เพาะปลูกชาเชียวภายในร่มเงาของต้นไม้ใหญ่อื่นๆ ด้วยเช่นกัน



องค์ประกอบทางเคมีของชาเขียว

สารสำคัญที่พบได้ในชาเขียว จะประกอยไปด้วย กรดอะมิโน วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี สารในกลุ่ม xanthine alkaloids คือ คาเฟอีน (caffeine) และธิโอฟิลลีน (theophylline) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ที่เรียกว่า คาเทชิน (catechins) โดยเราสามารถแยกสารคาเทชินออกได้เป็น 5 ชนิด คือ gallocatechin (GC), epicatechin (EC), epigallocatechin (EGC), epicatechin gallate (ECG), และ epigallocatechin gallate (EGCG) โดยคาเทชินที่พบได้มากและมีฤทธิ์ทรงพลังที่สุดในชาเขียว คือ สารอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (epigallocatechin gallate – EGCG) ซึ่งมีความสำคัญในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ






















สรรพคุณชาเชียว

• มีส่วนในการรักษาโรคปวดศีรษะไปจนถึงโรคซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี โดยประเทศจีนได้มีการใช้ชาเขียวในการรักษาโรคต่างๆ มาเป็นเวลามากกว่า 4,000 ปีมาแล้ว
• มีส่วนช่วยแก้หวัด แก้อาการร้อนใน ช่วยในการขับสารพิษ และช่วยขับเหงื่อในร่างกาย
• ช่วยแก้อาการเมาเหล้า อีกทั้งยังทำให้สร่างเมาได้เป็นอย่างดี
• มีส่วนช่วยในการทำให้เกิดการเจริญอาหาร มีส่วนช่วยในการเพิ่มจำนวนแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ จึงมีส่วนช่วยในการล้างสารพิษและช่วยกำจัดพิษในลำไส้ได้
• ช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในร่างกาย
• ป้องกันตับจากพิษต่างๆ รวมทั้งโรคชนิดอื่นๆ ที่สามารถเกิดขึ้นกับตับได้
• มีฤทธิ์ในการต้านอาการอักเสบ ต้านจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้ ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส รวมทั้งช่วยต้านเชื้อ Botulinus และเชื่อ Staphylococcus
• มีส่วนช่วยในการขับปัสสาวะ และช่วยป้องกันนิ่วในถุงน้ำดีและในไต
• ช่วยในการห้ามเลือดหรือทำให้เลือดไหลได้ช้าลง
• มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคข้ออักเสบรูมาติก ซึ่งเป็นโรคที่มีอาการอักเสบบวมแดง ส่งผลทำให้ปวดเมื่อตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ โดยอาการลักษณะนี้มักจะเกิดกับวัยกลางคน
• ใช้เป็นยาพอกเพื่อรักษาแผลอักเสบ แผลพุพอง ฝีหนอง ไฟไหม้ รวมทั้งช่วยบรรเทาอาการผดผื่นคัน แมลงสัตว์กัดต่อย ใช้เป็นยากันยุง รวมทั้งแก้ผิวร้อนแห้งได้เป็นอย่างดี
• มีส่วนช่วยในการทำให้เกิดการผ่อนคลายอารมณ์ ช่วยระบายความร้อนที่เกิดกับศีรษะและเบ้าตา จึงทำให้ตาสว่าง ไม่ง่วงนอน แถมยังทำให้หายใจสดชื่นได้อีกด้วย
• ช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย และท้องบิดได้เป็นอย่างดี
• มีส่วนช่วยในการแก้อาการกระหายน้ำ ช่วยในการระบายความร้อนให้ออกจากปอด แถมยังช่วยขับเสมหะได้อีกด้วย



ชาเขียวกับฤทธิ์ทางยาของชาเขียว

• ชาเขียวมีผลต่อการยับยั้งภาวะโรคต่างๆ ซึ่งมีงานวิจัยมากมายที่สนับสนุนว่าชาเขียวนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกาย
• มีฤทธิ์ในการลดความอ้วน เนื่องจากมีงานวิจัยได้ระบุว่าสารแคททีชินที่มีส่วนในการลดความอ้วนพบได้มากที่สุดในชาเขียว
• มีฤทธิ์ในการช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานและไขมัน จนส่งผลต่อการควบคุมน้ำหนักของร่างกายได้เป็นอย่างดี
• มีส่วนช่วยในการลดคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด
• มีงานวิจัยทางคลินิกที่ค้นพบว่าชาเขียวมีฤทธิ์ในการต่อต้านการเกิดโรคของหลอดเลือดหัวใจ
• มีผลต่อการช่วยลดอัตราเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งต่างๆ



รูปแบบขนาดวิธีใช้ชาเขียว

ในรูปแบบขนาดวิธีใช้ของชาเขียวนั้น ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอน โดยปกติชาเขียวมีคาเฟอีนน้อยกว่ากาแฟ ประมาณ 2 – 3 เท่าตัว แต่มีรายงานจากศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ถึงปริมาณที่เหมาะสมนั้นคือ 100 – 750 มิลลิกรัมต่อวันของสารสกัดชาเขียวที่ได้มาตรฐาน



ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของชาเขียว

ชาเขียวได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางในคนสัตว์และการทดลองในห้องปฏิบัติการผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าชาเขียวอาจช่วยรักษาสภาวะสุขภาพต่อไปนี้
หลอดเลือด การศึกษาประชากรที่ใช้บ่งชี้ว่าคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระของชาเขียวอาจช่วยป้องกันหลอดเลือดโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหลอดเลือดหัวใจ นักวิจัยเชื่อว่าชาเขียวช่วยลดความเสียงของโรคหัวใจโดยการลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรีกลีเซอไรด์
คอเลสเตอรอลสูง การวิจัยแสดงให้เห็นว่าชาเขียวช่วยลดคอเลสเตอรอลรวมและเพิ่ม HDL (ดี) คอเลสเตอรอลทั้งในสัตว์ พบว่าคนที่ดื่มชาเขียวมีแนวโน้มที่จะมีคอเลสเตอรอลรวมต่ำกว่าผู้ที่ไม่ดื่มชาเขียว
โรคมะเร็ง การศึกษาหลายประชากรที่ใช้แสดงให้เห็นว่าทั้งชาเขียวและชาดำช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โพลีฟินในชาโดยเฉพาะชาเขียวอาจมีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคมะเร็ง
อักเสบโรคลำไส้ (IBD) ชาเขียวอาจช่วยลดการอักเสบที่เกี่ยวข้องกับโรค Crohn และลำไส้ใหญ่ทั้งสองประเภทของ IBD จากการพิสูจน์ชาเขียวจะช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็ยังจะช่วยให้ผู้ที่มี IBD เพราะพวกเขามีความเสี่ยงสูงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
โรคเบาหวาน การศึกษาในสัตว์แสดงให้เห็นว่าชาเขียวอาจช่วยป้องกันการเกิดของโรคเบาหวานประเภท 1 และลดการลุกลาม
โรคตับ ชาเขียวยังดูเหมือนว่าจะปกป้องตับ ของสารพิษ เช่น แอลกอฮอล์ การศึกษาในสัตว์ได้แสดงให้เห็นว่าชาเขียวช่วยป้องกันมะเร็งตับในหนู catechins อาจช่วยให้การรักษาไวรัสตับอักเสบ
ลดน้ำหนัก การศึกษาทางคลินิกแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากชาเขียวอาจจะเพิ่มการเผาผลาญและช่วยเผาผลาญไขมัน
คาเทชินเป็นฟลาโวนอยด์ (flavonoid) ชนิดพิเศษที่พบในชาโดยเฉพาะในชาเขียว และบางครั้งก็เรียกว่าพอลิฟีนอลชาเขียว และบางครั้งก็เรียกว่า พอลิฟีนอลชาเขียว (green tea polyphenol) มีสรรพคุณเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยดัก และทำลายอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นออกซิเจนโมเลกุลเดี่ยว และเปอร์ออกไซด์ ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการทำลายเซลล์เนื้อเยื่อ นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับวิตามินซีเพื่อเสริมความแข็งแรงให้แก่ผนังหลอดเลือด



การศึกษาทางพิษวิทยาของชาเขียว

จากการศึกษาทางพิษวิทยาของชาเขียวพบว่า แม้ชาเขียวมีประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน แต่การบริโภคชาเขียวอย่างไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย ซึ่งมีรายงานเกี่ยวกับการบริโภคชาเขียวระบุว่าถ้าบริโภคในปริมาณสูงและติดต่อกันเป็นเวลานานสามารถส่งผลเสียต่อตับได้ โดยมีรายงานการวิจัยในหนูเม้าส์พบว่าสาร epigallocatechin gallate (EGCG) จะส่งผลให้ตับถูกทำลายเล็กน้อยเมื่อบริโภคในขนาดสูง (2,500 มก./กก.) ติดต่อกัน 5 วัน และความเป็นพิษต่อตับจะยิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อบริโภคในขณะที่เป็นไข้ จากงานวิจัยช่วยยืนยันว่าการบริโภคชาเขียวในระยะเวลาสั้นๆ มีความปลอดภัย แต่ถ้าบริโภคในปริมาณสูงอาจส่งผลให้ตับถูกทำลาย ดังนั้นหากมีความผิดปกติเกี่ยวกับตับหรือมีอาการไข้ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคชาเขียวในขนาดสูงและติดต่อกันเป็นเวลานาน



ข้อแนะนำ / ข้อควรระวัง

ข้อมูลจากนายกสมาคมแพทย์แผนจีน ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ถึงแม้ว่าชาเขียวจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายก็ตาม แต่ในความเป็นจริงแล้วชาเขียวก็มีสารที่เป็นโทษต่อร่างกายด้วยเช่นกัน แต่ไม่ถึงกับเป็นอันตรายมากนัก ส่วนมากจะเกิดกับผู้ที่มีสภาพร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง เมื่อดื่มแล้วทำให้มีอาการใจสั่น นอนไม่หลับ มีอาการระคายเคืองกระเพาะอาหาร ท้องผูก ฟันดำ และหากดื่มอย่างต่อเนื่องก็อาจเป็นการเสพติดได้ หากคุณกำลังใช้ยาใดๆต่อไปนี้คุณไม่ควรดื่มชาเขียวหรือใช้สารสกัดจากชาเขียวโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์
• Adenosine ชาเขียวอาจยับยั้งการทำงาน Adenosine ที่ยาที่ได้รับในโรงพยาบาลสำหรับการที่ผิดปกติและมักจะไม่เสถียรจังหวะหัวใจ
• Beta-lactam ชาเขียวอาจจะเพิ่มประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะเบต้า lactam โดยการทำให้เชื้อแบคทีเรียดื้อต่อการรักษา
• เบนโซ คาเฟอีนรวมทั้งคาเฟอีนจากชาเขียวอาจจะช่วยลดฤทธิ์ของยากล่อมประสาทเหล่านี้ซึ่งนิยมใช้ในการรักษาความวิตากังวล เช่น ยากล่อมประสาท (Valium) และ lorazepam (Ativan)
• คนที่ใช้ warfarin (Coudamin) ไม่ควรดื่ม ชาเขียว เนื่องจากชาเขียวมีวิตามิน K ก็สามารถทำให้ยานี้ไม่ได้ผลและสารประกอบอื่นๆ ในชาเขียวอาจชะลอการแข็งตัวของเลือด
• Clozapine (Clozaril) ผลของการใช้ยา Clozapine อาจจะลดลงถ้าถ่ายภายใน 40 นาทีหลังจากที่ดื่มชาเขียว
• อีเฟดรีน เมื่อถ่ายด้วยอีเฟดรีนชาเขียวอาจก่อให้เกิดความปั่นป่วนสั่นนอนไม่หลับและการสูญเสียน้ำหนัก






เอกสารอ้างอิง

1. ชาวเขียว.เครือข่ายความร่วมมือบริการเภสัชเทศ.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=3757&gid=3
2. วารสารสถาบันศาสตร์แห่งผิวหนังแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (Journal of the American Aeademy of Dermatology)
3. วารสาร The American Journal of Clinical Nutrition พฤศจิกายน 1999
4. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (พญ.สายพิณ โชติวิเชียร, วรชาติ ธนนิเวศน์กุล). “ชาเขียว…ไม่ว่าอะไรก็ต้องชาเขียวไว้ก่อน”.
5. ชาเขียวมีดีอะไร.คอลัมน์ เรื่องเด่นจากปก.นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 279 กรกฎาคม 2545 หน้า 232
6. ศักดิ์ บวร.2543.ชาเขียว.บริษัท โอเอ็นจี การพิมพ์ จำกัด.กรุงเทพฯ.96 หน้า
7. Liebert,M.,Lich,U.,Buhm,V. ang Bitsch,R.1999,Antioxidant properties and totalphenolics content of green and black tea under different brewing conditions.
8. หนังสือวิตามินไบเบิล. (ดร.เอิร์ล มินเดลล์). “สารสกัดจากชาเขียว (Green tea extract)”. หน้า 252-253.
9. ศูนย์วิทยบริการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. “ชาเขียว…น้ำทิพย์แห่งชีวิต”. (นิสากร ปานประสงค์)., “ชาเขียว สารอาหารมหัศจรรย์”. (เยาวลักษณ์ พิพัฒน์จำเริญกุล). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: elib.fda.moph.go.th. [08 ส.ค. 2014].
10. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (ธิดารัตน์ จันทร์ดอน ). “ชาเขียว ( Green Tea )… ดื่มอย่างไรให้ได้ประโยชน์”. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th. [08 ส.ค. 2014].
11. J Agric Food Chem. (Ko CH, Lau KM, Choy WY, Leung PC.). “Effects of tea catechins, epigallocatechin, gallocatechin, and gallocatechin gallate, on bone metabolism.”
12. Baladia E, Basulto J, Manera M, Martinez R, Calbet D. Effect of green tea or green tea extract consumption on body weight and body composition: systematic review and meta-analysis. Nutr Hosp. 2014; 2993):479-90.
13. Bettuzzi S, Brausi M, Rizzi F, Castagnetti G, Peracchia G, Corti A. Chemoprevention of human prostate cancer by oral administration of green tea catechins in volunteers with high-grade prostate intraepithelial neoplasia: a preliminary report from a one-year proof-of-principle study. Cancer Res. 2006;66(2):1234-40.
14. Zheng XX, Xu YL, Li SH, Liu XX, Hui R, Huang XH. Green tea intake lowers fasting serum total and LDL cholesterol in adults: a meta-analysis of 14 randomized controlled trials. Am J Clin Nutr. 2011;94(2):601-10.
15. วิจัยอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ องค์การเภสัชกรรม. (ดร.ประภัสสร สุรวัฒนาวรรณ). “ชาเขียว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.gpo.or.th. [08 ส.ค. 2014].

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น